เจ้าภาพ สำรวจอาคารรัฐทิ้งร้างทั่วประเทศ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันเรียกร้องรัฐบาลจัด
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันเรียกร้องรัฐบาลจัด “เจ้าภาพ” สำรวจอาคารรัฐทิ้งร้างทั่วประเทศ หลังพบความสูญเสียสูงหลักแสนล้านบาท พร้อมเสนอ 4 แนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
วันที่ 18 ก.ค. 2568 นายมานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ประเทศไทย ประเมินตัวเลขงบประมาณที่สูญเสียจากปัญหาอาคารรัฐทิ้งร้างสร้างไม่เสร็จทั่วประเทศสูงถึงหลักแสนล้านบาท โดยระบุว่าข้อมูลที่พบมีเพียงตัวเลขบางส่วนจากการสำรวจโดยสำนักผู้ตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งผู้บริหารป.ป.ช.เคยระบุว่า จังหวัดเล็กๆ อย่าง “ตรัง” มีอาคารทิ้งร้างคิดเป็นมูลค่า 2.8 พันล้านบาท (5 ก.พ. 2568) โดยตัวอาคารมูลค่าสูงสุด 400 กว่าล้านบาท หากใช้ตัวเลขเพียงครึ่งเดียวของจังหวัดตรังคือ 1.4 พันล้านบาทคูณด้วย 76 จังหวัด ตัวเลขที่ได้จะประมาณ 1 แสนล้านบาท นี่คือที่มาของสมมติฐานตัวเลขความสูญเสียงบประมาณจากปัญหาอาคารราชการทิ้งร้างทั่วประเทศ
ความเสียหายกระจายทุกจังหวัด
นายมานะกล่าวต่อไปว่า อาจมีคนเห็นแย้งว่า ทั่วประเทศต้องมีอาคารใหญ่ระดับพันล้านจำนวนมากที่สร้างไม่เสร็จ วงเงินรวมจึงจะแตะระดับแสนล้านบาทได้ แต่ต้องไม่ลืมว่ามีความเสียหายที่กระจายซ่อนอยู่ในทุกจังหวัดและหลุดสำรวจ โดยเฉพาะโครงการทิ้งร้างทั้งใหญ่และเล็กจำนวนมากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างเอง และโครงการที่หน่วยงานจากส่วนกลาง รวมทั้งหน่วยทหารสร้างแล้วยกให้ อปท. หรือโรงเรียนต่างๆ รับไปดูแล เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สนามกีฬา ศูนย์ท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ โรงผลิตน้ำดื่ม ฯลฯ
พบภาคใต้ ทิ้งงานสูง เจ้าภาพ สำรวจอาคารรัฐทิ้งร้างทั่วประเทศ
นายมานะ ระบุด้วยว่า อีกหนึ่งคำถามที่ชวนคิด คือ กรณีอาคาร กสทช. มูลค่า 2.64 พันล้านบาท แม้ปล่อยทิ้งมาหลายปีแล้ว แต่อีก 2-5 ปีข้างหน้า เมื่อเคลียร์ปัญหาฟ้องร้องกับผู้รับเหมาเดิม จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมแล้วเริ่มต้นประมูลหาผู้รับเหมารายใหม่ทำงานต่อให้เสร็จ อย่างนี้ควรนับรวมในตัวเลขแสนล้านนี้ด้วยหรือไม่ ไม่เพียงเท่านั้น ข้อมูลที่ได้รับฟังจากผู้นำชุมชนในพื้นที่และผู้บริหาร ป.ป.ช. ทำให้ทราบว่าปัญหาเช่นนี้พบมากใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ดังที่ทราบว่า ที่สงขลาก็มีพิพิธภัณฑ์หอยสังข์มูลค่า 1.4 พันล้านบาท
เพราะมีงบความมั่นคง งบอัดฉีดจากหน่วยต่างๆ จำนวนมาก การจัดซื้อจัดจ้างมักใช้วิธีพิเศษ ยังไม่รวมถึง กทม. ที่พบปัญหาเช่นกัน “ปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ รวมทั้งอาคารสำนักงานสตง. ที่ก่อสร้างค้างคาอยู่นับ 10 จังหวัด” shoujospain