การเดินทางไปสู่ขอบจักรวาลการเมืองไทย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
เขียนคอลัมน์นี้หลังจากการถ่ายทอดสดม็อบอนุสาวรีย์ชัยฯเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาจบลง คิดว่าถ้าตามกันมาตั้งแต่ต้นๆ ก็จะเห็นว่าไม่ใช่ม็อบที่มองข้ามได้แน่นอนว่าข้อเสนอของม็อบนี้มีทั้งส่วนที่ชัดเจน และมีทั้งส่วนที่ยังคลางแคลงสงสัยว่าจะพาสถานการณ์เลยเถิดไปสู่การเป็นเงื่อนไขของรัฐประหารหรือไม่แต่ต้องเข้าใจว่าโดยส่วนของการชุมนุมไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตยโดยตรง และข้อเสนอระยะสั้นคือเรื่องกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็ยังอยู่ในกรอบกฎหมาย
จำนวนของผู้คนที่มาร่วมการเคลื่อนไหวเองก็จะต้องคิดใหม่ให้ชัดเจน เพราะม็อบในวันนี้เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเทคโนโลยีไม่ใช่น้อยม็อบวันนี้มีเงื่อนไขเรื่องคนร่วมชุมนุมหลายประการที่ต้องเข้าใจ หนึ่งคือ มีคนเก่ากลับมาร่วมอย่างพร้อมเพรียง พร้อมเติมฝ่ายคุณจตุพรมาด้วย ในกระแสที่เยาวชนและพรรคส้มสงวนท่าทีไม่ได้เข้าร่วมในพื้นที่ และแดงนั้นยังไม่แน่ใจว่าเหลือเท่าไหร่ที่จะลงถนนได้ เพราะแกนนำแดงก็แยกย้ายไปตามฝ่ายต่างๆ ไปเยอะแล้ว (แต่ยังมีกลุ่มหนึ่งเลือกไปให้กำลังใจนายกฯที่ชายแดนอยู่)
สองคือ เกิดการหยิบยืมเทคนิคแนวทางของม็อบร่วมสมัยในรอบที่แล้ว คือม็อบเยาวชนมากขึ้น คือการเริ่มต้นจากม็อบที่ไม่ยืดเยื้อ-วันเดียวจบ มีการกระจายตัวของผู้ที่เข้าร่วมออนไลน์ ทั้งพวกที่สนับสนุนและผู้สังเกตการณ์มากเป็นพิเศษถ้านับว่ามีคนเข้าชมตามช่องต่างๆ ที่ถ่ายทอดสดก็จะพบว่ามีจำนวนมากมาย ตั้งแต่ช่องของฝ่ายเข้าร่วม และช่องของสื่อทั่วๆ ไป ซึ่งถ้ารวมกันแล้วน่าจะหลายเท่าของผู้ชุมนุมในพื้นที่จริง
สาม สิ่งที่น่าจะใหม่อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การเข้ามามีบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในการชุมนุมมากขึ้น มีการสร้างรูปการชุมนุมเสร็จตั้งแต่ยังไม่ได้ชุมนุมด้วยซ้ำ มีการใช้เอไอนับจำนวนผู้ชุมนุม รวมทั้งภาพและคลิปในการรณรงค์ในช่วงนี้ที่ทำได้ง่ายขึ้น และแน่นอนว่า เมื่อข้อมูลที่ถูกผลิตแบบนี้มากขึ้น ต่อไปการค้นหาออนไลน์ก็จะเต็มไปด้วยข้อมูลแนวนี้เพิ่มขึ้นเข้าไปอีกสี่คือ ม็อบในรอบนี้รวมทั้งความสนใจและข้อมูลที่ถูกผลิตออกมาอาจมีส่วนในการกำหนดบรรยากาศของนิติสงครามในช่วงนี้ก่อนรัฐประหารด้วยซ้ำ และแม้มีผลให้เกิดการตัดสินใจของสถาบันตุลาการในห้วงเวลานี้ แต่อาจมีผลกดดันตัวแสดงทางการเมืองต่างๆ เช่น อาจไปกดดันพรรคการเมืองพันธมิตรการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ หรือมีผลต่อความยุ่งเหยิงในเรื่องของการริเริ่มคดีความ และข้อเสนอเชิงกฎหมายที่ฟังดูแปลกประหลาด หรือคิดไม่ถึงอีกมากมาย
ยังไม่นับว่าถ้าคำตัดสินต่างๆ ในสัปดาห์นี้ไม่ถูกอารมณ์กับผู้คนที่สนใจเข้าร่วมม็อบนี้ ม็อบนี้จะกลับมาใหม่อย่างแน่นอน เพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เริ่มต้นขึ้นอย่างอุ่นหนาฝาคั่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้คือสิ่งที่ต้องจับตาจนกะพริบตาลำบากแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ครม.ใหม่ที่สุดท้ายสะท้อนถึงการแบ่งปันอำนาจเพื่อยึดโยงกันเอาไว้ให้ได้ด้วยผลประโยชน์มากกว่าการดิ้นเฮือกสุดท้ายในการสร้างผลงานอย่างจริงจังไม่มีสักตำแหน่งที่เอาคนนอกที่ได้รับการยอมรับทางสังคมเข้ามาเสริมทัพ การเดินทางไปสู่ขอบจักรวาลการเมืองไทย
ยิ่งกระทรวงมหาดไทยที่เชื่อว่าจะเป็นกระทรวงที่จะสร้างผลงานและใช้ต้นทุนสูงมากในการนำกลับมาได้ แต่ก็ต้องแบ่งให้กับพรรคอื่น และอาจจะต้องแบ่งกันเองตามก๊กก๊วนในพรรคตัวเอง ซึ่งทำให้การทำงานในมหาดไทยเองไร้เอกภาพอยู่ไม่ใช่น้อยส่วนเรื่องราวของการตัดสินว่านายกรัฐมนตรีจะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เรื่องนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เพราะว่าแบบแผนในเรื่องนี้ของศาลรัฐธรรมนูญมีได้ทั้งสองแบบ คือ ยุติชั่วคราว แต่ตัดสินจริงแล้วรอดแบบคุณประยุทธ์ หรือไม่ยุติชั่วคราว แต่ไม่รอดแบบคุณเศรษฐา
แต่ทั้งหมดทั้งปวงนี้นอกจากกองเชียร์เพื่อไทยเอง ผมคิดว่าคนจำนวนไม่น้อยอยากจะเชื่อว่าวิถีประชาธิปไตยยังมีหวัง คือการเลือกตั้งใหม่ แต่ทั้งนี้ หนทางไปสู่สิ่งนั้นมันไม่น่าจะง่าย หลายคนจึงกลัวว่ารัฐประหารจะไม่พาไปสู่การเลือกตั้งใหม่ หรือกลัวว่าถ้านายกรัฐมนตรีลาออก หรือยุติการปฏิบัติหน้าที่ การสรรหานายกฯใหม่ก็ยากในกรอบกฎหมายที่มีอยู่ และการที่รักษาการนายกฯจะใช้อำนาจยุบสภาก็ยังถกเถียงกันว่าทำได้หรือไม่ประเด็นชาตินิยมก็มีความหนักหน่วงขึ้นกว่าในอดีต สังเกตว่าเพลงปลุกใจในช่วงไม่กี่ปีนี้จนถึงในม็อบจะกลายเป็นเพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” ซึ่งเริ่มมีการเปิดเพลงนี้มากขึ้นและมีหลายเวอร์ชั่นมากขึ้น การเดินทางไปสู่ขอบจักรวาลการเมืองไทย
แต่เพลงปลุกใจเพลงนี้ซึ่งตามประวัติเป็นเพลงที่ชนะการประกวดเพลงปลุกใจ (แต่งโดยทีมงานของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งเชื่อมโยงกับกรมประชาสัมพันธ์) เมื่อ พ.ศ.2488 ซึ่งเป็นยุคสมัยของจอมพล ป. แต่เป็นช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งแม้ไทยจะถูกมองว่าแพ้สงคราม แต่ในเนื้อเพลงสะท้อนความรักชาติที่พิเศษกว่าชาตินิยมในเวอร์ชั่นทั่วไป (ดูรายละเอียดที่ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. On History: บ้านเกิดเมืองนอน เพลงปลุกใจ ความเป็นไทย ที่ไม่ไทย. มติชนสุดสัปดาห์. 15 ตุลาคม 2564 และซูม. “บ้านเกิดเมืองนอน” 2564 เพลงปลุกใจแห่งยุคสมัย. ไทยรัฐออนไลน์. 15 ตุลาคม 2564 และณรงค์ฤทธิ์ ศรีรัตโนภาส. ว่าด้วยเพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” แนวหน้า. 20 ตุลาคม 2562)แนวคิดชาตินิยมดังกล่าวไม่ได้มีแค่เรื่องของการปกปักรักษาดินแดน แต่ยังเต็มไปด้วยแนวคิดที่เรียกว่าฟาสซิสต์ด้วย คือเชิดชู (เชื้อ) ชาติตนเองว่าสูงส่งกว่าใครอื่น และเหยียดวัฒนธรรมของชาติอื่นว่าด้อยกว่า เน้นความสามัคคีและเสียสละ ในบริบทของสงครามจริงๆ อย่างชัดแจ้งกว่าเพลงในยุคสงครามเย็นหลังจากนั้นมากนัก shoujospain